ผมตั้งใจจะแชร์เธรดทั้งเธรดนะครับ ตอนโพสต์ลืมตรวจสอบ https://twitter.com/srakrn/status/1298868323963158530
ผมตั้งใจจะแชร์เธรดทั้งเธรดนะครับ ตอนโพสต์ลืมตรวจสอบ https://twitter.com/srakrn/status/1298868323963158530
ดูเหมือนเราจะเคยมีหน้าใน wikia (ปัจจุบันคือ fandom) นะครับ: https://lug.fandom.com/th/wiki/หน้าหลัก จะปัดฝุ่นไหมครับ? หรือจะทำใหม่บน GitHub ไปเลย?
เรื่องโปรแกรมของ GNU ซับซ้อนเกินเหตุนี่เห็นด้วยเลยครับ อ่านแล้วอยากให้รื้อเขียนใหม่จริงๆ
คิดเหมือนกันครับว่าแบบที่ 2 ดูไม่ intrusive ดี
ผมเพิ่งปรับรูปแบบของตาราง keymap ให้อยู่ในรูปที่แกะได้ง่ายขึ้น และเพิ่งแก้ผังปัตตะโชติในแบบ conservative ที่สุดไว้ก่อน (แก้ Shift + ฌ เป็น ฦ และ backslash เป็นพินทุ ส่วน Shift + สระอิ แก้เป็นไม้หันอากาศ) แล้วจะปรับเปลี่ยนต่อยังไง เดี๋ยวรอข้อสรุปก่อนครับ
https://github.com/tlwg/ibus-libthai/commit/4ee8cf0612344105301ba68d2913b0fc3f2b4f10
ขอบคุณสำหรับคำอธิบายโดยละเอียดครับ
“Shift + ฌ = ฦ” และ “\ = พินทุ/นิคหิต” โอเคครับ
ส่วนปุ่มที่เหลือ ผมเพิ่งทราบว่าปุ่ม grave และเลข 1 เป็นปุ่มที่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งพอได้ข้อมูลนี้ทำให้ผมมาคิดใหม่
สำหรับ ‘_’ ที่ปุ่ม grave นั้น ซ้ำกับ Shift + ๗ ความจริงเราเอามาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ และเราเอาลากข้างยาวมาใส่ตรงนี้ก็ได้
สำหรับ Shift + สระอิ ที่ว่างลง ถ้าเราใส่ยามักการตรงนี้ก็จะคีย์เพิ่มได้อีกหนึ่งอักขระ โดยอยู่ในปุ่มเดียวกับสระอิที่เป็น dead key (เคอร์เซอร์ไม่เลื่อน) เหมือนกันก็น่าจะช่วยเรื่องการจัดหมวดหมู่
ส่วน ฃ/ฅ ก็อยู่ที่ปุ่มเลข 1 น่าจะเหมาะแล้ว
สรุป แบบที่ 2: (แบบที่ 1 หมายถึงแบบที่คุณ @sirn ว่า)
หรือถ้าเราไม่สนใจว่าจะให้ ฿ อยู่ตำแหน่งเดียวกับ Windows เราก็อาจจะย้าย ฃ/ฅ ไปอยู่ปุ่ม grave และให้ ๅ/฿ อยู่ปุ่มเลข 1 ก็ได้ เพราะ ฃ/ฅ น่าจะใช้ไม่บ่อยเท่า ๅ
สรุป แบบที่ 3:
นี่เท่ากับเราย้ายปุ่มมาคู่กันเหมือนผัง มอก. 820 ที่จับ ฿ กับ ๅ มาคู่กัน จับ ฃ กับ ฅ มาคู่กัน เพียงแต่ มอก. 820 สลับการยกแคร่ด้วย โดยถ้าเราล้อการยกแคร่ตาม มอก. 820 ก็จะเป็นแบบที่ 4:
คิดว่าแบบไหนจะดีที่สุดครับ?
เว็บฝึกพิมพ์ดีดถึงกับให้พิมพ์ไม้หันอากาศด้วยการกด Shift + สระอิ แทนที่จะใช้ไม้หันอากาศที่แป้นเหย้า!
https://www.typingstudy.com/th-thai_pattachote-3/
บทที่ 4 ต ว ั
https://www.typingstudy.com/th-thai_pattachote-3/lesson/4/part/1
ซึ่งทำให้ผมกังวลถ้าจะเปลี่ยน Shift + สระอิ เป็นอย่างอื่น (เช่น ลากข้างยาวดังที่ตั้งกระทู้ถาม) แต่อยากจะคิดว่าเป็นความผิดพลาดของการสร้างบทเรียนมากกว่า
วิกิพีเดียทั้งไทยและอังกฤษ ดูจะอ้างอิงบทความของ ดร. ทวีศักดิ์ โดยวิกิพีเดียอังกฤษแสดงสองแบบโดยอิงข้อมูลจาก keyman ต่างกันที่ปุ่ม Shift + สระอิ = ไม้หันอากาศ+ไม้โท หรือ ไม้หันอากาศ
https://th.wikipedia.org/wiki/แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ
https://en.wikipedia.org/wiki/Thai_Pattachote_keyboard_layout
ในบทความของ ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล แสดงปุ่มทั้งสามดังนี้
https://www.nectec.or.th/it-standards/keyboard_layout/thai-key.html
ตรวจสอบกับแบบฝึกปัตตะโชติ โดย เศรษฐวัฒน์ อุทธา ปรากฏว่าในบทเรียนท่านข้ามปุ่มทั้งสามนี้ไปเลย
แต่ผังที่แสดงในหน้า 20 แสดงปุ่มทั้งสามดังนี้
ของ C++ STL ยุ่งเชียวครับ https://gcc.gnu.org/git/?p=gcc.git;a=blob;f=libstdc%2B%2B-v3/include/bits/stl_tree.h
สงสัยว่า NSFW คืออะไรครับ?
ผมร่างบทความเรื่องขนาดฟอนต์ไทยโดยพยายามรวมประเด็นต่างๆ ที่เคยคุยกันในหลายโอกาสมาไว้ด้วยกัน ถ้ามีข้อเสนอแนะตรงไหนก็ยินดีครับ
https://linux.thai.net/~thep/thai-font-metrics.html
ตัวอย่างเช่น ผมกำลังสำรวจเพิ่มว่ามีฟอนต์ไทยชุดไหนอีกที่ใช้ metrics แบบใหม่ จะได้เพิ่มลงในตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ติดตามไปลองใช้กันครับ