ขอปรึกษาเรื่องผังปัตตะโชติครับ ผมเช็กในเน็ตแล้ว ของ ibus-libthai ยังต้องแก้อยู่ 3 ปุ่ม

  • Shift + ฌ จาก comma เป็น ฦ
  • ปุ่มที่ตรงกับ backslash ของ QWERTY จากลากข้างยาว (ๅ) เป็นพินทุ
  • ปุ่ม Shift + สระอิ ในพิมพ์ดีดเป็นไม้หันอากาศ+ไม้โท ในเน็ตส่วนใหญ่เป็นไม้หันอากาศตัวเดียว แต่ก็มีไม้หันอากาศที่ปุ่ม g ของ QWERTY อยู่แล้ว ผมควรปรับเป็นอะไรดีครับ? ถ้าย้ายลากข้างยาวมาใส่จะเวิร์กไหม?
  • thepOPM
    link
    fedilink
    arrow-up
    1
    ·
    3 years ago

    ขอบคุณสำหรับคำอธิบายโดยละเอียดครับ

    “Shift + ฌ = ฦ” และ “\ = พินทุ/นิคหิต” โอเคครับ

    ส่วนปุ่มที่เหลือ ผมเพิ่งทราบว่าปุ่ม grave และเลข 1 เป็นปุ่มที่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งพอได้ข้อมูลนี้ทำให้ผมมาคิดใหม่

    สำหรับ ‘_’ ที่ปุ่ม grave นั้น ซ้ำกับ Shift + ๗ ความจริงเราเอามาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ และเราเอาลากข้างยาวมาใส่ตรงนี้ก็ได้

    สำหรับ Shift + สระอิ ที่ว่างลง ถ้าเราใส่ยามักการตรงนี้ก็จะคีย์เพิ่มได้อีกหนึ่งอักขระ โดยอยู่ในปุ่มเดียวกับสระอิที่เป็น dead key (เคอร์เซอร์ไม่เลื่อน) เหมือนกันก็น่าจะช่วยเรื่องการจัดหมวดหมู่

    ส่วน ฃ/ฅ ก็อยู่ที่ปุ่มเลข 1 น่าจะเหมาะแล้ว

    สรุป แบบที่ 2: (แบบที่ 1 หมายถึงแบบที่คุณ @sirn ว่า)

    • ปุ่ม grave = [ๅ/฿]
    • ปุ่มเลข 1 = [ฃ/ฅ]
    • Shift + สระอิ = ยามักการ

    หรือถ้าเราไม่สนใจว่าจะให้ ฿ อยู่ตำแหน่งเดียวกับ Windows เราก็อาจจะย้าย ฃ/ฅ ไปอยู่ปุ่ม grave และให้ ๅ/฿ อยู่ปุ่มเลข 1 ก็ได้ เพราะ ฃ/ฅ น่าจะใช้ไม่บ่อยเท่า ๅ

    สรุป แบบที่ 3:

    • ปุ่ม grave = [ฃ/ฅ]
    • ปุ่มเลข 1 = [ๅ/฿]
    • Shift + สระอิ = ยามักการ

    นี่เท่ากับเราย้ายปุ่มมาคู่กันเหมือนผัง มอก. 820 ที่จับ ฿ กับ ๅ มาคู่กัน จับ ฃ กับ ฅ มาคู่กัน เพียงแต่ มอก. 820 สลับการยกแคร่ด้วย โดยถ้าเราล้อการยกแคร่ตาม มอก. 820 ก็จะเป็นแบบที่ 4:

    • ปุ่ม grave = [ฅ/ฃ]
    • ปุ่มเลข 1 = [฿/ๅ]
    • Shift + สระอิ = ยามักการ

    คิดว่าแบบไหนจะดีที่สุดครับ?

    • sirn
      link
      fedilink
      arrow-up
      1
      ·
      3 years ago

      โดยส่วนตัวผมรู้สึกค่อนข้างชอบที่ชุดปุ่มใช้การยกแคร่ตาม มอก. 820 (แบบที่ 4) ครับ เพราะปุ่มทั้งหมดนี้เป็นปุ่มที่ไม่ค่อยได้ใช้ และความยากง่ายในการพิมพ์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ถ้าคิดในแง่การเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มอื่น ผมกลับคิดว่าแบบที่ 2 น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

      ผมคิดว่าคงต้องลองแพช ibus-libthai แล้วลองใช้ดูสักพักครับ

      • thepOPM
        link
        fedilink
        arrow-up
        1
        ·
        3 years ago

        คิดเหมือนกันครับว่าแบบที่ 2 ดูไม่ intrusive ดี

        ผมเพิ่งปรับรูปแบบของตาราง keymap ให้อยู่ในรูปที่แกะได้ง่ายขึ้น และเพิ่งแก้ผังปัตตะโชติในแบบ conservative ที่สุดไว้ก่อน (แก้ Shift + ฌ เป็น ฦ และ backslash เป็นพินทุ ส่วน Shift + สระอิ แก้เป็นไม้หันอากาศ) แล้วจะปรับเปลี่ยนต่อยังไง เดี๋ยวรอข้อสรุปก่อนครับ

        https://github.com/tlwg/ibus-libthai/commit/4ee8cf0612344105301ba68d2913b0fc3f2b4f10