ความเห็นในฐานะหนึ่งใน 3 คน (:D) ที่ใช้ปัตตะโชติครับ
-
เรื่องปุ่มตรง Shift + ฌ
ตรงนี้บน macOS และบน Windows เป็น ฦ ผมคิดว่าน่าเปลี่ยนให้เหมือนกันครับ เคยรู้สึกเหมือนกันว่าแปลกๆ แต่ไม่ได้ติดใจอะไรขนาดนั้นเพราะเป็นตัวอักษรที่ไม่ค่อยใช้ (ตัวที่เคยสะดุดจริงๆ มีแค่ไม้จัตวากับสระอำ ตามที่เคยเปิด PR ไปครับ) -
เรื่องปุ่มตรง backslash ใน QWERTY
ผมลองในอีกสองเครื่องที่มี บน macOS เป็นกดปุ่มนี้จะได้ ฃ/ฅ ส่วน Windows เป็นพินธุ/นิคหิต แต่พิมพ์จริงออกมาเป็น U+F8C7 (ถึงจะพิมพ์ตัวอักษรอื่นก่อนก็ได้ออกมาเป็น U+F8C7 น่าจะเป็นบั๊คที่ไม่เคยมีใครสังเกตจนถึงวันนี้…) -
โดยส่วนตัวผมไม่เคยกดไม้หันอากาศด้วยตำแหน่ง Shift + สระอิ เลยครับ
โดยส่วนตัวผมชอบ libthai ตรงที่มีปุ่มกดลากข้างยาวในขณะที่แพลตฟอร์มอื่นต้องคัดลอกเอา เลยคิดว่าถ้าหากจะเปลี่ยน Shift + สระอิ เป็นลากข้างยาว ผมไม่รู้สึกติดอะไรครับ แต่ไหนๆ ก็เข้าประเด็นนี้ ผมอยากจะเพิ่มเติมว่าในแป้นปัตตะโชติปัจจุบันในทุกแพลตฟอร์มมีปุ่มที่ไม่ได้ใช้อยู่ 2 ปุ่ม
A. ปุ่มตรงเลข 1
ใน macOS เป็นปุ่มที่กดแล้วไม่เกิดอะไรขึ้นส่วน Windows จะได้เครื่องหมายเท่ากับ (=) กับเครื่องหมายบวก (+)
B. ปุ่มตรง grave accent (`)
ใน macOS กดแล้วได้เครื่องหมายบาท ฿ (ส่วนกรณีกด Shift จะไม่เกิดอะไรขึ้น)
ใน Windows จะได้ underscore (_) และกด Shift ได้เครื่องหมายบาท (฿)
โดยส่วนตัวแล้วในการปรับตามแพลตฟอร์มอื่น
- Shift + ฌ เป็น ฦ (ตามแพลตฟอร์มอื่น)
- ปุ่มตรง backslash เป็น พินทุ/นิคหิต (ตามใน Windows)
- ปุ่มตรง grave accent เป็น _/฿ (ตามใน Windows)
และถ้าหากให้เปลี่ยน
- Shift + สระอิ เป็นลากข้างยาว (เปลี่ยนจากแพลตฟอร์มอื่น)
- ปุ่มตรงเลข 1 เป็น ฃ/ฅ (เพิ่มจากแพลตฟอร์มอื่น)
น่าจะเป็นตัวเลือกให้ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีที่สุดครับ (แต่ถ้าจะให้พูดถึงประสบการณ์การพิมพ์ โดยส่วนตัวผมมีปัญหากับแป้น ๒-๕ / สระอู, สระอุ / ๗-๐ / ๑ / ๖ อยู่พอสมควร แต่ขออนุญาติละไว้ เพราะถ้าปรับตรงนี้ด้วยน่าจะเป็นงานใหญ่)
โดยส่วนตัวผมรู้สึกค่อนข้างชอบที่ชุดปุ่มใช้การยกแคร่ตาม มอก. 820 (แบบที่ 4) ครับ เพราะปุ่มทั้งหมดนี้เป็นปุ่มที่ไม่ค่อยได้ใช้ และความยากง่ายในการพิมพ์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ถ้าคิดในแง่การเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มอื่น ผมกลับคิดว่าแบบที่ 2 น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า
ผมคิดว่าคงต้องลองแพช ibus-libthai แล้วลองใช้ดูสักพักครับ