ขอปรึกษาเรื่องผังปัตตะโชติครับ ผมเช็กในเน็ตแล้ว ของ ibus-libthai ยังต้องแก้อยู่ 3 ปุ่ม

  • Shift + ฌ จาก comma เป็น ฦ
  • ปุ่มที่ตรงกับ backslash ของ QWERTY จากลากข้างยาว (ๅ) เป็นพินทุ
  • ปุ่ม Shift + สระอิ ในพิมพ์ดีดเป็นไม้หันอากาศ+ไม้โท ในเน็ตส่วนใหญ่เป็นไม้หันอากาศตัวเดียว แต่ก็มีไม้หันอากาศที่ปุ่ม g ของ QWERTY อยู่แล้ว ผมควรปรับเป็นอะไรดีครับ? ถ้าย้ายลากข้างยาวมาใส่จะเวิร์กไหม?
  • @sirn
    link
    2
    edit-2
    3 years ago

    ความเห็นในฐานะหนึ่งใน 3 คน (:D) ที่ใช้ปัตตะโชติครับ

    1. เรื่องปุ่มตรง Shift + ฌ
      ตรงนี้บน macOS และบน Windows เป็น ฦ ผมคิดว่าน่าเปลี่ยนให้เหมือนกันครับ เคยรู้สึกเหมือนกันว่าแปลกๆ แต่ไม่ได้ติดใจอะไรขนาดนั้นเพราะเป็นตัวอักษรที่ไม่ค่อยใช้ (ตัวที่เคยสะดุดจริงๆ มีแค่ไม้จัตวากับสระอำ ตามที่เคยเปิด PR ไปครับ)

    2. เรื่องปุ่มตรง backslash ใน QWERTY
      ผมลองในอีกสองเครื่องที่มี บน macOS เป็นกดปุ่มนี้จะได้ ฃ/ฅ ส่วน Windows เป็นพินธุ/นิคหิต แต่พิมพ์จริงออกมาเป็น U+F8C7 (ถึงจะพิมพ์ตัวอักษรอื่นก่อนก็ได้ออกมาเป็น U+F8C7 น่าจะเป็นบั๊คที่ไม่เคยมีใครสังเกตจนถึงวันนี้…)

    3. โดยส่วนตัวผมไม่เคยกดไม้หันอากาศด้วยตำแหน่ง Shift + สระอิ เลยครับ


    โดยส่วนตัวผมชอบ libthai ตรงที่มีปุ่มกดลากข้างยาวในขณะที่แพลตฟอร์มอื่นต้องคัดลอกเอา เลยคิดว่าถ้าหากจะเปลี่ยน Shift + สระอิ เป็นลากข้างยาว ผมไม่รู้สึกติดอะไรครับ แต่ไหนๆ ก็เข้าประเด็นนี้ ผมอยากจะเพิ่มเติมว่าในแป้นปัตตะโชติปัจจุบันในทุกแพลตฟอร์มมีปุ่มที่ไม่ได้ใช้อยู่ 2 ปุ่ม

    A. ปุ่มตรงเลข 1
    ใน macOS เป็นปุ่มที่กดแล้วไม่เกิดอะไรขึ้นส่วน Windows จะได้เครื่องหมายเท่ากับ (=) กับเครื่องหมายบวก (+)

    B. ปุ่มตรง grave accent (`)
    ใน macOS กดแล้วได้เครื่องหมายบาท ฿ (ส่วนกรณีกด Shift จะไม่เกิดอะไรขึ้น)
    ใน Windows จะได้ underscore (_) และกด Shift ได้เครื่องหมายบาท (฿)


    โดยส่วนตัวแล้วในการปรับตามแพลตฟอร์มอื่น

    • Shift + ฌ เป็น ฦ (ตามแพลตฟอร์มอื่น)
    • ปุ่มตรง backslash เป็น พินทุ/นิคหิต (ตามใน Windows)
    • ปุ่มตรง grave accent เป็น _/฿ (ตามใน Windows)

    และถ้าหากให้เปลี่ยน

    • Shift + สระอิ เป็นลากข้างยาว (เปลี่ยนจากแพลตฟอร์มอื่น)
    • ปุ่มตรงเลข 1 เป็น ฃ/ฅ (เพิ่มจากแพลตฟอร์มอื่น)

    น่าจะเป็นตัวเลือกให้ประสบการณ์การพิมพ์ที่ดีที่สุดครับ (แต่ถ้าจะให้พูดถึงประสบการณ์การพิมพ์ โดยส่วนตัวผมมีปัญหากับแป้น ๒-๕ / สระอู, สระอุ / ๗-๐ / ๑ / ๖ อยู่พอสมควร แต่ขออนุญาติละไว้ เพราะถ้าปรับตรงนี้ด้วยน่าจะเป็นงานใหญ่)

    • @thepOPM
      link
      13 years ago

      ขอบคุณสำหรับคำอธิบายโดยละเอียดครับ

      “Shift + ฌ = ฦ” และ “\ = พินทุ/นิคหิต” โอเคครับ

      ส่วนปุ่มที่เหลือ ผมเพิ่งทราบว่าปุ่ม grave และเลข 1 เป็นปุ่มที่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งพอได้ข้อมูลนี้ทำให้ผมมาคิดใหม่

      สำหรับ ‘_’ ที่ปุ่ม grave นั้น ซ้ำกับ Shift + ๗ ความจริงเราเอามาใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ และเราเอาลากข้างยาวมาใส่ตรงนี้ก็ได้

      สำหรับ Shift + สระอิ ที่ว่างลง ถ้าเราใส่ยามักการตรงนี้ก็จะคีย์เพิ่มได้อีกหนึ่งอักขระ โดยอยู่ในปุ่มเดียวกับสระอิที่เป็น dead key (เคอร์เซอร์ไม่เลื่อน) เหมือนกันก็น่าจะช่วยเรื่องการจัดหมวดหมู่

      ส่วน ฃ/ฅ ก็อยู่ที่ปุ่มเลข 1 น่าจะเหมาะแล้ว

      สรุป แบบที่ 2: (แบบที่ 1 หมายถึงแบบที่คุณ @sirn ว่า)

      • ปุ่ม grave = [ๅ/฿]
      • ปุ่มเลข 1 = [ฃ/ฅ]
      • Shift + สระอิ = ยามักการ

      หรือถ้าเราไม่สนใจว่าจะให้ ฿ อยู่ตำแหน่งเดียวกับ Windows เราก็อาจจะย้าย ฃ/ฅ ไปอยู่ปุ่ม grave และให้ ๅ/฿ อยู่ปุ่มเลข 1 ก็ได้ เพราะ ฃ/ฅ น่าจะใช้ไม่บ่อยเท่า ๅ

      สรุป แบบที่ 3:

      • ปุ่ม grave = [ฃ/ฅ]
      • ปุ่มเลข 1 = [ๅ/฿]
      • Shift + สระอิ = ยามักการ

      นี่เท่ากับเราย้ายปุ่มมาคู่กันเหมือนผัง มอก. 820 ที่จับ ฿ กับ ๅ มาคู่กัน จับ ฃ กับ ฅ มาคู่กัน เพียงแต่ มอก. 820 สลับการยกแคร่ด้วย โดยถ้าเราล้อการยกแคร่ตาม มอก. 820 ก็จะเป็นแบบที่ 4:

      • ปุ่ม grave = [ฅ/ฃ]
      • ปุ่มเลข 1 = [฿/ๅ]
      • Shift + สระอิ = ยามักการ

      คิดว่าแบบไหนจะดีที่สุดครับ?

      • @sirn
        link
        13 years ago

        โดยส่วนตัวผมรู้สึกค่อนข้างชอบที่ชุดปุ่มใช้การยกแคร่ตาม มอก. 820 (แบบที่ 4) ครับ เพราะปุ่มทั้งหมดนี้เป็นปุ่มที่ไม่ค่อยได้ใช้ และความยากง่ายในการพิมพ์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ถ้าคิดในแง่การเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มอื่น ผมกลับคิดว่าแบบที่ 2 น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า

        ผมคิดว่าคงต้องลองแพช ibus-libthai แล้วลองใช้ดูสักพักครับ

        • @thepOPM
          link
          13 years ago

          คิดเหมือนกันครับว่าแบบที่ 2 ดูไม่ intrusive ดี

          ผมเพิ่งปรับรูปแบบของตาราง keymap ให้อยู่ในรูปที่แกะได้ง่ายขึ้น และเพิ่งแก้ผังปัตตะโชติในแบบ conservative ที่สุดไว้ก่อน (แก้ Shift + ฌ เป็น ฦ และ backslash เป็นพินทุ ส่วน Shift + สระอิ แก้เป็นไม้หันอากาศ) แล้วจะปรับเปลี่ยนต่อยังไง เดี๋ยวรอข้อสรุปก่อนครับ

          https://github.com/tlwg/ibus-libthai/commit/4ee8cf0612344105301ba68d2913b0fc3f2b4f10

  • @thepOPM
    link
    13 years ago

    ในบทความของ ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล แสดงปุ่มทั้งสามดังนี้

    • Shift + ฌ = ฦ
    • [\,|] (QWERTY) = [พินทุ,นิคหิต]
    • Shift + สระอิ = ไม้หันอากาศ+ไม้โท

    https://www.nectec.or.th/it-standards/keyboard_layout/thai-key.html

  • @thepOPM
    link
    1
    edit-2
    3 years ago

    ตรวจสอบกับแบบฝึกปัตตะโชติ โดย เศรษฐวัฒน์ อุทธา ปรากฏว่าในบทเรียนท่านข้ามปุ่มทั้งสามนี้ไปเลย

    แต่ผังที่แสดงในหน้า 20 แสดงปุ่มทั้งสามดังนี้

    • Shift + ฌ = ฦ <-- อันนี้ส่วนใหญ่ในเน็ตใช้ตรงกัน
    • [\,|] (Dvorak/QWERTY) = [ฃ,ฅ] <-- อันนี้แปลกจากแหล่งอื่น
    • Shift + สระอิ = ไม้หันอากาศ

    https://issuu.com/83799/docs/pattachote_artwork__1revised

  • @thepOPM
    link
    13 years ago

    เว็บฝึกพิมพ์ดีดถึงกับให้พิมพ์ไม้หันอากาศด้วยการกด Shift + สระอิ แทนที่จะใช้ไม้หันอากาศที่แป้นเหย้า!

    https://www.typingstudy.com/th-thai_pattachote-3/

    บทที่ 4 ต ว ั

    https://www.typingstudy.com/th-thai_pattachote-3/lesson/4/part/1

    ซึ่งทำให้ผมกังวลถ้าจะเปลี่ยน Shift + สระอิ เป็นอย่างอื่น (เช่น ลากข้างยาวดังที่ตั้งกระทู้ถาม) แต่อยากจะคิดว่าเป็นความผิดพลาดของการสร้างบทเรียนมากกว่า

  • @thepOPM
    link
    13 years ago

    วิกิพีเดียทั้งไทยและอังกฤษ ดูจะอ้างอิงบทความของ ดร. ทวีศักดิ์ โดยวิกิพีเดียอังกฤษแสดงสองแบบโดยอิงข้อมูลจาก keyman ต่างกันที่ปุ่ม Shift + สระอิ = ไม้หันอากาศ+ไม้โท หรือ ไม้หันอากาศ

    https://th.wikipedia.org/wiki/แป้นพิมพ์ปัตตะโชติ

    https://en.wikipedia.org/wiki/Thai_Pattachote_keyboard_layout

  • @NoiSNCM
    link
    13 years ago

    ไม่มีประสบการณ์การพิมพ์ด้วยผังแบบนี้เลยครับ ไม่ทราบจะช่วยอะไรได้บ้างเลยทีนี้